สำหรับชาวต่างชาติอย่างเราน่าจะสับสนกันกับการแบ่งยุคสมัยของญี่ปุ่น และคงเคยคิดว่าแต่ละยุคนี่มันนานแค่ไหนกันแน่นะ? ความจริงแล้วแต่ละยุคมีความยาวนานแตกต่างกันไป เพราะญี่ปุ่นจะนับเป็นยุคสมัยใหม่เมื่อจักรพรรดิองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์นั่นเอง ปีแรกของยุคใหม่ก็มีชื่อเหมือนกัน เรียกว่า เนนโก
ญี่ปุ่นเริ่มตั้งชื่อให้ยุคสมัยตั้งแต่เมื่อไหร่?
ระบบการตั้งชื่อให้ยุคสมัยนี้มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีน และเผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่นในปี 645 ที่จักรพรรดิโคโตกุครองราชย์ เป็นจุดเริ่มต้นของยุคไทกะ ยุคสมัยแรกที่ถูกตั้งชื่อในญี่ปุ่น แต่ก็ยกเลิกไปหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิ จนนำกลับมาใช้อีกครั้งในยุคสมัยของจักรพรรดิมอนมุปีค.ศ. 701 แล้วจึงใช้ระบบการตั้งชื่อยุคสมัยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อถึงเวลาตั้งชื่อยุคสมัยใหม่แล้วบรรยากาศอาจจะเต็มไปด้วยความหวานปนขม เพราะจะเกิดขึ้นหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิ จึงจะตั้งชื่ออย่างเป็นทางการให้สอดคล้องกับยุคที่จักรพรรดิองค์นั้นครองราชย์ แต่ไม่ใช่กับจักรพรรดิองค์ล่าสุด สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะมีโอกาสได้เห็นการประกาศชื่อ “ยุคเรวะ” ยุคสมัยในปัจจุบันด้วยตาตัวเอง เพราะเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกที่สละราชสมบัติในรอบสองศตวรรษ การมาถึงของยุคเรวะ ซึ่งหมายความว่า “ความกลมเกลียวอันงดงาม” จึงกลายเป็นการเฉลิมฉลองอันแสนชื่นมื่น
แล้วเราเกิดในยุคไหนกันนะ?
ชาวต่างชาติที่มาญี่ปุ่นมักจะถามเกี่ยวกับอายุของตัวเองตามปฏิทินญี่ปุ่น หลายครั้งเวลากรอกเอกสารทางการที่ถามถึงวันเกิด เราจะเห็นอักษรคันจิอยู่ 3-4 คำที่หมายถึงยุคสมัยที่ผ่านมาในญี่ปุ่น ตรงนี้แหละที่เราจะต้องวงกลมรอบยุคสมัยที่เราเกิด และเขียนปีของยุคนั้นๆที่ตรงกับปีเกิดของเรา
วิธีการหาปีเกิดแบบญี่ปุ่นทำได้ตามนี้เลย ขั้นแรกเราต้องรู้เนนโกของยุคก่อน อย่างเช่นถ้าเราเกิดปีค.ศ. 1991 แปลว่าปีเกิดแบบญี่ปุ่นของเราคือ “ปีเฮเซที่ 3” เพราะยุคเฮเซนั้นเริ่มต้นในปีค.ศ. 1989 เมื่อจักรพรรดิอากิฮิโตะขึ้นครองราชย์ ปีค.ศ. 1991 จึงเป็นปีที่ 3 ของยุคเฮเซนั่นเอง
ยุคโชวะ : ค.ศ. 1926 – 1989
ยุคเฮเซ : ค.ศ. 1989 – 2019
ยุคเรย์วะ : ค.ศ. 2019 – ปัจจุบัน