สำหรับชาวต่างชาติอย่างเราน่าจะสับสนกันกับการแบ่งยุคสมัยของญี่ปุ่น และคงเคยคิดว่าแต่ละยุคนี่มันนานแค่ไหนกันแน่นะ? ความจริงแล้วแต่ละยุคมีความยาวนานแตกต่างกันไป เพราะญี่ปุ่นจะนับเป็นยุคสมัยใหม่เมื่อจักรพรรดิองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์นั่นเอง ปีแรกของยุคใหม่ก็มีชื่อเหมือนกัน เรียกว่า เนนโก

ญี่ปุ่นเริ่มตั้งชื่อให้ยุคสมัยตั้งแต่เมื่อไหร่?

ระบบการตั้งชื่อให้ยุคสมัยนี้มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีน และเผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่นในปี 645 ที่จักรพรรดิโคโตกุครองราชย์ เป็นจุดเริ่มต้นของยุคไทกะ ยุคสมัยแรกที่ถูกตั้งชื่อในญี่ปุ่น แต่ก็ยกเลิกไปหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิ จนนำกลับมาใช้อีกครั้งในยุคสมัยของจักรพรรดิมอนมุปีค.ศ. 701 แล้วจึงใช้ระบบการตั้งชื่อยุคสมัยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อถึงเวลาตั้งชื่อยุคสมัยใหม่แล้วบรรยากาศอาจจะเต็มไปด้วยความหวานปนขม เพราะจะเกิดขึ้นหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิ จึงจะตั้งชื่ออย่างเป็นทางการให้สอดคล้องกับยุคที่จักรพรรดิองค์นั้นครองราชย์ แต่ไม่ใช่กับจักรพรรดิองค์ล่าสุด สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะมีโอกาสได้เห็นการประกาศชื่อ “ยุคเรวะ” ยุคสมัยในปัจจุบันด้วยตาตัวเอง เพราะเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกที่สละราชสมบัติในรอบสองศตวรรษ การมาถึงของยุคเรวะ ซึ่งหมายความว่า “ความกลมเกลียวอันงดงาม” จึงกลายเป็นการเฉลิมฉลองอันแสนชื่นมื่น

แล้วเราเกิดในยุคไหนกันนะ?

ชาวต่างชาติที่มาญี่ปุ่นมักจะถามเกี่ยวกับอายุของตัวเองตามปฏิทินญี่ปุ่น หลายครั้งเวลากรอกเอกสารทางการที่ถามถึงวันเกิด เราจะเห็นอักษรคันจิอยู่ 3-4 คำที่หมายถึงยุคสมัยที่ผ่านมาในญี่ปุ่น ตรงนี้แหละที่เราจะต้องวงกลมรอบยุคสมัยที่เราเกิด และเขียนปีของยุคนั้นๆที่ตรงกับปีเกิดของเรา
วิธีการหาปีเกิดแบบญี่ปุ่นทำได้ตามนี้เลย ขั้นแรกเราต้องรู้เนนโกของยุคก่อน อย่างเช่นถ้าเราเกิดปีค.ศ. 1991 แปลว่าปีเกิดแบบญี่ปุ่นของเราคือ “ปีเฮเซที่ 3” เพราะยุคเฮเซนั้นเริ่มต้นในปีค.ศ. 1989 เมื่อจักรพรรดิอากิฮิโตะขึ้นครองราชย์ ปีค.ศ. 1991 จึงเป็นปีที่ 3 ของยุคเฮเซนั่นเอง
  • ยุคโชวะ : ค.ศ. 1926 – 1989
  • ยุคเฮเซ : ค.ศ. 1989 – 2019
  • ยุคเรย์วะ : ค.ศ. 2019 – ปัจจุบัน
หลังจากยุคเอโดะเป็นต้นมาเราสามารถเขียนปีแบบญี่ปุ่นด้วยการย่อแบบสั้นๆ โดยการใช้ตัวอักษรหน้าสุดของชื่อยุค + เลขปี เช่นปีเฮเซที่ 3 เป็น H3

ญี่ปุ่นมีทั้งหมดกี่ยุคสมัย?

ตามปฏิทินญี่ปุ่นมียุคสมัยที่ถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการอยู่ 248 ยุคด้วยกัน ถ้าดูรายชื่อดีๆ จะเห็นว่ามีหลายยุคที่มีชื่อคล้ายคลึงกัน เพราะมีการนำอักษรคันจิกลับมาใช้ซ้ำในชื่อยุคอยู่บ่อยครั้ง จากทั้งหมด 248 ยุคมีการใช้อักษรคันจิที่ต่างกันเพียง 73 ตัวเท่านั้น

ยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่น

ยุคเมจิ (.. 1867-1912)

ยุคโมเดิร์นของญี่ปุ่นนับว่าเริ่มตั้งแต่ปีค.ศ. 1867 ถ้าเป็นแฟนประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นน่าจะจำกันได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเมจิ ซึ่งเป็นยุคที่ญี่ปุ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ผู้นำประเทศในยุคนั้นคือจักรพรรดิเมจิ ขึ้นครองราชย์เมื่ออายุเพียง 14 ปีเท่านั้น

ยุคไทโช (.. 1912-1926)

“ไทโช” มีความหมายว่า “คุณธรรมอันยิ่งใหญ่” ยุคนี้เริ่มต้นที่ปีค.ศ. 1912 เมื่อจักรพรรดิไทโชสืบทอดต่อจากพระบิดา ต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ระหว่างยุคเมจิ ในยุคไทโชก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวและการเรียกร้องสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยไทโช” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงรุ่งเรืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

ยุคโชวะ (.. 1926-1989)

ยุคโชวะนับเป็นยุคสมัยที่ยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น เริ่มต้นในค.ศ. 1926 หลังการสวรรคตของจักรพรรดิไทโช และสิ้นสุดในค.ศ. 1989 ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นก็เริ่มเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ แต่ก็เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งหลังสงคราม ในยุคนี้จักรพรรดิไม่ได้ถูกมองเป็นพระเจ้าอีกต่อไป ในครึ่งหลังของยุคโชวะได้นำระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมาใช้กับประชาธิปไตยเสรีนิยม หลังจากสงครามญี่ปุ่นก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ยุคเฮเซ (.. 1989-2019)

เฮเซ แปลเป็นไทยได้ว่า “ความสงบสุขทุกหนแห่ง” เทียบกับยุคที่ผ่านพ้นมาแล้วก็พูดได้ว่ายุคสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่แสนสงบสุขและรุ่งเรืองของญี่ปุ่น ยุคเฮเซเริ่มต้นในปีค.ศ. 1989 ในตอนที่จักรพรรดิเฮเซขึ้นครองราชย์ เป็นยุคที่ญี่ปุ่นมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่กลับเป็นไปได้ไม่นานนักจนถึงช่วงยุค 1990s ทศวรรษต่อมาถูกเรียกว่าเป็น “ทศวรรษที่สูญหาย” หรือ “Lost Decade” จากการที่ประเทศประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
ถึงอย่างนั้นยุคเฮเซก็ยังเป็นยุคสมัยที่ชวนให้หวนคิดถึง ชิ้นส่วนแห่งยุคเฮเซยังคงเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ และดำเนินเรื่อยมาจนถึงปีค.ศ. 2019 (ปีเฮเซที่ 31) เมื่อจักรพรรดิสละราชสมบัติ ขึ้นครองราชย์แทนโดยสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยเรวะในปัจจุบัน
Comments