ในสังคมเกษตรกรรม ซึ่งชีวิตของพวกเขาขึ้นอยู่กับลมฟ้าอากาศ ผู้คนบูชาเทพเจ้าจากสวรรค์ที่งานเทศกาลในวันหยุด นักขัตฤกษ์ และสวดมนต์เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร รวมทั้งเพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้ายและนำโชคดีให้เข้ามา สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าได้แปรเปลี่ยนมาเป็นเทศกาลพื้นบ้านดั้งเดิมในสมัยใหม่ วัฒนธรรมนามาฮาเงะที่ทำให้ผู้คนในเมืองโองะ จังหวัดอะคิตะหวาดผวาก็เช่นกัน

นะมะฮะเกะคืออะไร?
นามาฮาเงะ (なまはげ) เป็นงานพื้นบ้านอันเป็นเอกลักษณ์ของคาบสมุทรโองะ ในเมืองโองะ จังหวัดอะคิตะ คำนี้มีที่มาจากการผสมคำในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึงผื่นแดง (namomi) จากการอยู่หน้ากองไฟเป็นเวลานานเพื่อหลีกเลี่ยงความหนาวเย็นในฤดูหนาว กับคำว่าฉีกขาด (hagu) จากสภาพของผิวหนัง ปีศาจที่คอยเตือนผู้คนที่อู้จากการงานและการเรียนได้กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อนามาฮาเงะ

มีทฤษฎีต่างกันไปว่าด้วยต้นกำเนิดของปีศาจที่น่าสะพรึงกลัวนี้ หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องราวในตอนที่จักรพรรดิอู่แห่งราชวงศ์ฮั่นนำปีศาจมาห้าตน ย้อนกลับไปในสมัยดังกล่าว มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งเดือดร้อนจากการกระทำของปีศาจทั้งห้า เพื่อต่อสู้กับปัญหานี้ จึงมีการทำสัญญากับปีศาจขึ้น ถ้าปีศาจสามารถสร้างขั้นบันไดหินที่นำทางไปสู่ Goshado ได้ในหนึ่งคืน พวกเขาจะมอบเด็กหญิงให้เป็นการตอบแทน แต่หากปีศาจล้มเหลว จะต้องออกไปจากหมู่บ้านตลอดกาล ปีศาจทั้งห้าตนทำขั้นบันไดหินไปจนถึงขั้นที่ 999 แต่เมื่อพวกมันกำลังจะวางหินก้อนสุดท้ายลงไป ชาวบ้านก็ขัดขวางด้วยการเลียนเสียงไก่ขันในยามเช้า ปีศาจคิดว่านั่นเป็นเสียงจากสวรรค์ พวกมันจึงตกใจแล้ววิ่งหนีไป และไม่เคยกลับมายังหมู่บ้านอีกเลย

พิธีกรรมพื้นบ้านของนามาฮาเงะ
ทุกปี ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม ก่อนวันปีใหม่จะมาถึง ชาวบ้านจะสวมใส่ชุดถักด้วยฟาง ซึ่งรู้จักกันในชื่อ kede สวมหน้ากากน่าสะพรึงอันเป็นเอกลักษณ์ของเขตของพวกเขา แล้วเดินด้วยการยกขาสูง (จนดูเกือบเหมือนซูโม่ขณะที่พวกเขายกขาขึ้นสูงก่อนการแข่งขัน) ไปรอบๆ บริเวณใกล้เคียง แล้วเยี่ยมเยือนบ้านแต่ละหลัง คอยเตือนเหล่าวัยรุ่นเหลวไหลและเด็กเล็กให้ขยันทำงาน ตั้งใจเรียนและเชื่อฟังพ่อแม่ นามาฮาเงะคอยตะโกนดังๆ ว่า “มีเด็กร้องไห้อยู่หรือเปล่า?” “มีเด็กดื้ออยู่ไหม?” การแสดงที่ทำให้ผู้คนหวาดผวานี้มาจากความหวังให้เด็กๆ ได้เกรดที่ดีในโรงเรียน ประสบความสำเร็จในสังคม และมี ความสุขในอนาคตในอีกหลายปีข้างหน้าของพวกเขา เจ้าของบ้านแต่ละหลังจะมอบความบันเทิงแก่นามาฮาเงะด้วยเหล้าสาเกและปลาแซนด์ฟิชญี่ปุ่น ซึ่งจับได้จากชายฝั่งของจังหวัดอะคิตะ ในขณะที่ชื่นชมภรรยาและลูกๆ เพื่อปกป้องพวกเขาจากผู้มาเยือน

ในวันที่ 3 มกราคม ยังมีเทศกาลไซโตจัดขึ้นที่ศาลเจ้ามังชิน ซึ่งภาคภูมิใจกับประวัติศาสตร์กว่า 900 ปีด้วย ในบริเวณใกล้กับศาลเจ้า มีการจุดไฟและย่างโมจิ (แป้งเหนียวจากข้าว ซึ่งรู้จักกันในอีกชื่อว่า Goma mochi) จากนั้นนำไปมอบให้กับนามาฮาเงะ ที่ลงมาจากภูเขาในฐานะผู้ส่งสารของเทพเจ้า และมีการสวดมนต์เพื่อสันติภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารของหมู่บ้าน ด้วยข้อมูลที่แพร่ไปอย่างกว้างขวางเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของนามาฮาเงะได้รับความสนใจท่ามกลางพิธีกรรมพื้นบ้านดั้งเดิมมากมาย ชาวบ้านได้สร้างสรรค์เทศกาลฤดูหนาวโองะขึ้นโดยรวมเอางานนามาฮาเงะและเทศกาลไซโตเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเรียกกันในอีกชื่อว่าเทศกาลนามาฮาเงะ เซโดะ ทุกปี งานนี้จะจัดขึ้นในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่สงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนามาฮาเงะได้พึงพอใจ ไฮไลต์อยู่ตอนที่นามาฮาเงะลงจากภูเขามาพร้อมกับคบไฟในมือ ภาพของคบไฟส่องถนนที่มืดมิดและปกคลุมไปด้วยหิมะ ทำให้เกิดเป็นฉากที่ดูลึกลับเปี่ยมมนต์ขลัง

ที่เทศกาลนามาฮาเงะ เซโดะ จะมีการปรากฏโฉมของหน้ากากจากแต่ละเขต

Goshado นั่งรถบัสจากสถานี Oga ของสาย JR Oga 30 นาที
ศาลเจ้า Shinzan นั่งรถบัสจากสถานี Hadachi ของสาย JR Oga 50 นาที

ถ่ายภาพคู่กับนามาฮาเงะ

ความหมายเบื้องหลังงานประเพณีเฉพาะตัว
แต่เดิมนั้น พิธีกรรมพื้นบ้านนามาฮาเงะที่จัดขึ้นในวันส่งท้ายปีจะไม่มีการไปเยี่ยมบ้านที่เพิ่งมีเด็กเกิดใหม่หรือมีเรื่องอัปมงคลเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีหลายครอบครัวที่ไม่ต้อนรับการมาเยือนของนามาฮาเงะ
ผู้ปกครองบางคน ไม่อาจทนเห็นลูกหลานของพวกเขาถูกตะโกนใส่ได้ และบางคนกล่าวว่านี่เป็นพิธีกรรมของการลงโทษด้านระเบียบวินัยต่อพวกเด็กๆ เพราะอย่างนี้ วัฒนธรรมประเพณีเฉพาะตัวนี้จึงถูกท้าทายซ้ำแล้วซ้ำเล่าผ่านยุคสมัยต่างๆ

นายโนะโบะรุ สุกะวะระ ชาวบ้านผู้สูงวัย เคยไปเยี่ยมเยือนบ้านเรือนในฐานะนามาฮาเงะ ในความคิดของเขา เสียงตะโกนจากนามาฮาเงะขับไล่วิญญาณชั่วร้ายและนำโชคดีมาให้ มันยังเป็นการทำให้เด็กและเยาวชนมุ่งมั่น นำชุมชนให้เข้ามาใกล้ชิดกัน เพื่อปกป้องเด็กๆ และมอบการศึกษาให้พวกเขาด้วย ผู้คนที่ไม่รู้จักนามาฮาเงะ เข้าใจผิดว่าพิธีกรรมนี้เป็นการลงโทษเด็กๆ ดังนั้น จึงรู้สึกว่าถูกคุกคาม คำพูดเหล่านี้สื่อถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจความหมายที่แท้จริงที่อยู่เบื้องหลังวัฒนธรรมประเพณีนามาฮาเงะ แทนที่จะส่งต่อประเพณีนี้ไปอย่างหูหนวกตาบอด นี่แหละคือคุณค่าที่ควรได้รับการส่งมอบต่อไปยังผู้คนรุ่นต่อไป

การฟื้นฟูวัฒนธรรมผ่านการผลิตหน้ากากขึ้นใหม่

นอกจากการถูกตัดสินอย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า วัฒนธรรมประเพณีนามาฮาเงะยังตกอยู่ในวิกฤติเนื่องมาจากการสูญหายไปของหน้ากากที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละเขต รวมไปถึงข้อเท็จจริงที่ว่าพิธีกรรมนี้ไม่มีการจัดขึ้นอีกต่อไปแล้วในบางภูมิภาค ในปี 2014 สมาคมเยาวชนเขตอะชิซะวะได้รับความสนใจจากความพยายามในการผลิตหน้ากากขึ้นใหม่อีกครั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี นายยะสุอะคิ ทะเคะดะ สมาชิกสมาคมเยาวชนผู้ผลิตหน้ากาก เผยว่าเมื่อได้ดูภาพถ่ายในงานวรรณกรรม พวกเขายืนยันลักษณะของหน้ากาก รวบรวมวัสดุ และร่วมมือกันในกระบวนการผลิตได้สำเร็จ ขั้นตอนต่างๆ นี้ใช้เวลาถึงสองปี นายทะเคะดะต้องการจะสร้างหน้ากากที่จำลองหน้ากากดั้งเดิมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ แต่ในเวลาไม่นาน ก็ตระหนักได้ถึงความท้าทายที่มากับการผสมสีและการเตรียมวัสดุ สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขาเปลี่ยนใจ ซึ่งนำมาสู่การทำหน้ากากได้สำเร็จ “ด้วยการใช้วัสดุที่มีอยู่ในปัจจุบัน มันสามารถเป็นหน้ากากที่สะท้อนถึงยุคสมัยของพวกเราได้อย่างแท้จริง” ด้วยกระบวนการนี้ หน้ากากของเขตอะชิซะวะจึงได้ทำการผลิตขึ้นใหม่อีกครั้งอย่างเป็นทางการและกลายมาเป็นหมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมประเพณีนามาฮาเงะ

สก็อตต์ คามิโน คุณครูที่โรงเรียนประถมฟุนะงะวะ ไดอิจิในเมืองโองะ ได้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมวันสิ้นปีนี้ด้วย ในฐานะชาว ต่างชาติ เขารู้สึกประทับใจอย่างยิ่งกับวิธีที่ผู้อยู่อาศัยในท้องที่ดิ้นรนเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมนามาฮาเงะไว้ และการที่พวกเขาไม่เพียงแต่ส่งต่อไปยังผู้คนรุ่นต่อไป แต่ยังปรับปรุงมันให้ดีขึ้นด้วย ด้วยวิธีนี้ วัฒนธรรมพื้นบ้านนามาฮาเงะไม่เพียงแค่โด่งดังแล้วหายไปเหมือนดอกไม้ไฟ แต่หยั่งรากลึกลงไปในวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่น และพวกเขายังคงค้นหาว่าจะรักษาสมดุลระหว่างวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมกับชีวิตสมัยใหม่อย่างไร เพื่อให้ความหมายที่แท้จริงของวัฒนธรรมนามาฮาเงะได้รับการส่งต่อไปยังผู้คนรุ่นต่อๆ ไป

ที่พิพิธภัณฑ์ฮามาฮาเกะ มีการจัดแสดงหน้ากากของภูมิภาคหลากหลายแบบ
เวลาทำการ: 8.30 – 17.00 (เปิดตลอดปี)
การเดินทาง: นั่งรถยนต์จากสถานี Hadachi เส้น JR Oga ใช้เวลา 15 นาที
Comments