ญี่ปุ่นมีของหน้าตาสวยน่ารักมาให้เราได้ชมอยู่ไม่ขาด ตั้งแต่แผ่นมาส์ก ไปจนถึงขนมหวาน และเครื่องเขียนเก๋ๆ เรียกได้ว่าคนญี่ปุ่นใส่ใจในการออกแบบทุกสิ่งให้มีภาพลักษณ์ที่น่าดึงดูดอยู่เสมอ
สิ่งหนึ่งที่ชาวญี่ปุ่นออกแบบจนมีชื่อเสียงโด่งดังในแง่ความเป็นศิลปะก็คือฝาท่อ (manhole cover) นั่นเอง เทศบาลของแต่ละเมืองต่างมุ่งมั่นที่จะเอาชนะเมืองอื่นๆ ในการออกแบบฝาท่อที่ยอดเยี่ยมที่สุด โดยที่ยังคงแสดงออกถึงลักษณะเด่นของเมืองได้ด้วย ลวดลายที่สวยงามเหล่านี้ดึงดูดสายตาของผู้ที่ได้พบเห็น ทั้งในญี่ปุ่นและในต่างประเทศ จนมีกลุ่มผู้นิยมฝาท่อญี่ปุ่นกระจายตัวอยู่ทั่วโลก บนโลกออนไลน์ก็มีทั้งหนังสือรวมภาพและเว็บไซต์ที่อุทิศให้กับการเดินทางตามรอยฝาท่อ งานออกแบบฝาท่อ และสถานที่ที่ตามไปชมฝาท่อได้ให้ค้นหาอยู่มากมาย
ทำไมชาวญี่ปุ่นถึงใช้ความพยายามอย่างมากในการออกแบบฝาท่อ?
จากแหล่งข้อมูลอ้างอิงพบว่า ในตอนปลายของยุค 80’s ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้าง จากแผนกบำบัดน้ำเสียสาธารณะ กระทรวงการก่อสร้างท่านหนึ่ง สนับสนุนให้เทศบาลแต่ละแห่งออกแบบฝาท่อเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ของงานบำบัดน้ำเสียให้น่าสนใจสำหรับผู้คนทั่วไปในชุมชนมากขึ้น ทุกคนต่างเห็นด้วยว่านี่เป็นความคิดที่ดี จึงมีการจัดประกวดงานออกแบบฝาท่อยอดเยี่ยมขึ้นแทบทุกปี เทศบาลเมืองและองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างก็แข่งขันกันออกแบบฝาท่อที่ดีที่สุดมาตั้งแต่นั้น เอาละ ตอนนี้ เมื่อคุณรู้อย่างนี้แล้ว เวลามาเที่ยวญี่ปุ่น ก็มีสิ่งที่น่าสนใจให้มองหาเพิ่มขึ้นอีกสิ่งหนึ่งแล้ว
ปอกเปลือกประวัติศาสตร์ฝาท่อ
นี่ก็คือ 3 อันดับของฝาท่อที่มีความเป็นมาน่าสนใจที่สุด:

ฝาท่อลายโมโมทาโร่ วีรบุรุษในเรื่องเล่าที่ว่ากันว่ามีต้นกำเนิดมาจากจังหวัดโอคายามะ ตำนานเล่าขานว่า โมโมทาโร่เกิดมาจากลูกท้อขนาดยักษ์ และได้ออกเดินทางไปกับเพื่อนสัตว์ 3 ตัวเพื่อปราบปีศาจยักษ์ เชื่อกันว่าเรื่องนี้เริ่มมาจากการเล่าถึง Kibitsu-hiko-no-mikoto เจ้าชายในตำนาน ผู้สังหารยักษ์ที่มีชื่อว่าอุระ เจ้าชายองค์นี้ได้กลายมาเป็นเทพผู้ประดิษฐานอยู่ในศาลเจ้าหลายแห่งในจังหวัดโอคายามะ

บนฝาท่อมีรูปนกฟีนิกซ์สองตัว ทฤษฎีหนึ่งกล่าวอ้างว่าเมืองฟุคุอิเลือกใช้นกฟีนิกซ์เป็นสัญลักษณ์ เพราะเมืองมีประวัติศาสตร์ของการ “คืนชีพจากเถ้าถ่าน” มาแล้วหลายครั้ง หลังจากที่ถูกโจมตีทางอากาศ ประสบภัยน้ำท่วมและแผ่นดินไหว อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า ตามประวัติศาสตร์แล้ว เมืองนี้ได้ฟื้นตัวจากแผ่นดินไหว เพียงเพื่อจะถูกทำลายล้างโดยไฟไหม้ครั้งใหญ่อีกครั้ง และฟีนิกซ์ทั้งสองก็แสดงถึงการฟื้นตัวจากภัยพิบัติใหญ่ทั้งสองเหตุการณ์นี้

ที่โอซาก้า มีระบบบำบัดน้ำเสียงและประปาที่ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมาตั้งแต่หลายร้อยปีก่อน ระบบเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นโดยไดเมียว โทโยโทมิ ฮิเดโยชิพร้อมๆ กับการก่อสร้างปราสาทโอซาก้า และบางส่วนยังคงมีการใช้งานมาจนถึงทุกวันนี้ ฝาท่อนี้ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 100 ปีของระบบบำบัดน้ำเสีย ภาพนี้ประกอบไปด้วยดอกซากุระ – ดอกไม้ประจำเมือง และปราสาทโอซาก้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบบบำบัดน้ำเสียในปัจจุบัน
ประวัตินักเขียนของ WAttention Ninja

ฉันเป็นนักเขียนมือสมัครเล่น และนักอ่านผู้หิวกระหายซึ่งอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี 2007 ฉันสนุกกับการอ่านและการเขียนถึงอาหาร การท่องเที่ยว และเรื่องน่ารู้แปลกๆ ฉันใช้การช้อปปิ้งของจากร้าน 100 เยนเป็นการบำบัดจิตใจ