ในช่วงสิ้นปีชาวญี่ปุ่นจะนิยมรับประทานอาหารประเภทที่มีกากใยสูงจำพวก โกโบ แครอท รากบัวนึ่ง รวมไปถึงการเตรียมอาหารอื่นๆ ที่ใช้ในการเฉลิมฉลองอาทิ ข้าวเหนียวนึ่งถั่วแดง หัวไชเท้าต้ม ผักกาดนึ่ง และปลาที่หาได้ในฤดูหนาว ซึ่งอาหารแต่ละอย่างที่กล่าวมานั้นจะช่วยล้างพิษ ทำให้ร่างกายสะอาด เพื่อเป็นการเตรียมตัวต้อนรับเข้าสู่ปีใหม่ที่กำลังจะเริ่มขึ้น
เช่นเดียวกับต้นกำเนิดของวันคริสต์มาส วันเหมายันถือเป็นความหมายของช่วงเวลาแห่งการเกิดใหม่และการคืนชีพ ดวงอาทิตย์จะค่อยๆ เริ่มเคลื่อนตัวสูงขึ้น จากจุดล่างสุดของท้องฟ้าจนเข้าสู่จุดสูงสุดในวันที่มีกลางวันยาวที่สุดในรอบปี
วันเหมายันนี้มักจะรับประทานฟักทองนึ่งถั่วแดงหรือที่ชาวญี่ปุ่นรู้จักกันดีในชื่อว่า “โทจิคาโบจะ” ซึ่งฟักทองและถั่วแดงนั้นจะช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นและยังช่วยเพิ่มพลังงาน ขณะเดียวกัน โกโบ คอนยัคคุ(บุก) รากบัว และผักที่มีกากใยที่พบได้มากในฤดูนี้จะช่วยชำระล้างลำไส้และปรับอุณหภูมิในร่างกายให้อุ่นขึ้นอีกด้วย เมื่อเสร็จการชำระล้างร่างกายครั้งใหญ่แล้ว เวลาเทียงคืนของวันปีใหม่ก็จะดื่มน้ำ ”วาคะมิซุ” ที่ตักเตรียมไว้พร้อมกับเฉลิมฉลองข้ามปี

ผู้เขียน: ริเอโกะ อิโดะ

จบการศึกษาจาก Kokugakuin University เป็นนักวิจัยเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและภูมิปัญญาญี่ปุ่นสมัยโบราณ ทำการวิเคราะห์ทางเทคนิคเกี่ยวกับข้อค้นพบต่างๆ เพื่อปรับใช้กับวิถีชีวิตยุคใหม่ ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ Tama Art University
Comments