ก่อนจะเข้าสู่ช่วงอากาศอบอ้าวกลางฤดูร้อน จะมีฤดูฝนที่เรียกว่า “ทสึยุ” มาเยือนก่อน วันแรกที่เริ่มต้นฤดูฝนดังกล่าวเรียกว่า “นิวไบ” ระยะเวลาของฤดูฝนจะแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค แต่ฤดูอันเปียกชื้นที่อากาศแจ่มใสเพียงไม่กี่วันมักจะยาวนานประมาณหนึ่งเดือน ฤดูฝนอันน่าหดหู่และไร้ชีวิตชีวาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการให้กำเนิดชีวิตสำหรับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการเกษตร
ตัวคันจิคำว่า “ทสึยุ” มีความหมายว่า “ฝนต้นบ๊วย” ซึ่งในฤดูกาลนี้ผลบ๊วยจะสุกงอมและเป็นหน้าของบ๊วยตามชื่อ ระหว่างฤดูกาลอันเปียกชื้นที่เอื้ออำนวยให้เชื้อราเติบโตและร่างการมนุษย์เจ็บป่วยได้ง่ายนั้น ผลบ๊วยถือเป็นตัวยาสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่สุขภาพร่างกาย เรากินผลบ๊วยแบบดิบๆ ไม่ได้ แต่เป็นที่รู้กันว่า หลังผ่านการแปรรูปแล้ว ผลบ๊วยจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยง “พิษสามอย่าง” ได้อย่างมีประสิทธิผล มิหนำซ้ำยังมีคุณสมบัติในการเป็นยาสูงอีกด้วย ผู้คนรับประทานบ๊วยมาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อขจัดพิษจากอาหาร พิษจากน้ำ และพิษในโลหิต จึงเป็นการรับประทานเพื่อป้องกันอาหารเป็นพิษ น้ำเป็นพิษ และขจัดสิ่งสกปรกออกจากโลหิต ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดค้นวิธีรับประทานบ๊วยขึ้นมามากมาย ได้แก่ อุเมะโบชิหรือบ๊วยดอง มิโซะบดใส่บ๊วย น้ำส้มสายชูใส่บ๊วย และบ๊วยต้มรสหวาน
เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการพิสูจน์ว่า บ๊วยดองช่วยบรรเทาอาการอาหารเป็นพิษ สร้างแบคทีเรีย และมีสารกำจัดอนุมูลอิสระ ทำให้เราเห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในสมัยก่อน

ผู้เขียน: ริเอโกะ อิโดะ

จบการศึกษาจาก Kokugakuin University เป็นนักวิจัยเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและภูมิปัญญาญี่ปุ่นสมัยโบราณ ทำการวิเคราะห์ทางเทคนิคเกี่ยวกับข้อค้นพบต่างๆ เพื่อปรับใช้กับวิถีชีวิตยุคใหม่ ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ Tama Art University
Comments