กล่าวกันว่าวันใดที่เลขวันและเลขเดือนเป็นเลขคี่ทั้งคู่ พลัง “หยาง” ในทฤษฎี “หยิน-หยาง” จะแกร่งกล้าเกินไปจนเกิดความอัปมงคล เซ็กกุซึ่งมีความหมายถึงงานเทศกาลประจำฤดูกาลจึงกลายมาเป็นอีเวนท์เพื่อต้านภัยคุกคามดังกล่าว ในบรรดานั้นวันที่ 9กันยายนเป็นที่รู้จักในนามของโจโยโนะเซ็กกุ (Choyo no Sekku) เพราะวันนี้มีตัวเลขซึ่งพลัง“หยาง”แข็งแกร่งที่สุดรวมกันถึงสองตัวมีความเชื่อกันมายาวนานว่าเมื่อพลังแห่งธรรมชาติท่วมท้นเกินรับไหวชีวิตของมนุษยชาติก็จะตกอยู่ในอันตราย เพื่อป้องกันภยันตรายและภาวนาให้มีชีวิตยืนยาวจะมีการนำดอกเบญจมาศมาลอยในน้ำหรือเหล้าและดื่มมันเข้าไปโดยหวังพึ่งคุณสมบัติของมันที่จะชำระเลือดให้บริสุทธิ์ ในยุคสมัยที่เชื่อกันว่าโรคภัยไข้เจ็บส่วนใหญ่เกิดจากความไม่บริสุทธิ์ในเลือดนั้นดอกเบญจมาศถือเป็นยาพื้นบ้านจีนแบบญี่ปุ่นซึ่งคนในราชวงศ์เท่านั้นจึงจะจัดหามาได้
หนึ่งในพิธีกรรมช่วงโจโย โนะ เซ็กกุ (Choyo no Sekku) คือการนำปุยไหมมาวางบนดอกเบญจมาศจากนั้นนำส่วนที่ซึมซับน้ำค้างของดอกไม้มาทำความสะอาดร่างกายเพลงพื้นบ้านชื่อ “คิคุโดจิ (Kikudoji) ” ซึ่งมักใช้ในการแสดงละครโนห์ก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิญญาณนิจนิรันดรของดอกเบญจมาศยามบานสะพรั่ง อันที่จริงแล้ว ในยุคเฮอันสตรีชั้นสูงจะล้างหน้าและทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำค้างจากดอกเบญจมาศโดยเชื่อว่า จะช่วยคงความเยาว์วัยนั่นเอง
สำหรับชาวไร่ชาวนาวันนี้ถือเป็นวันที่จะได้เพลิดเพลินกับการรับประทานเกาลัดปัจจุบันรู้กันทั่วไปว่าเกาลัดเป็นอาหารดีต่อสุขภาพอันอุดมไปด้วยวิตามินซี รวมถึงมีโปรตีนและไขมันสมดุลกัน ผู้คนในอดีตรู้เรื่องนี้จากประสบการณ์การรับประทานด้วยความปรารถนาให้ตนมีอายุยืนยาวจึงเป็นประเพณีประจำเทศกาลที่ขาดมิได้ในวันโจโย (Choyo)

ผู้เขียน: ริเอโกะ อิโดะ

จบการศึกษาจาก Kokugakuin University เป็นนักวิจัยเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและภูมิปัญญาญี่ปุ่นสมัยโบราณ ทำการวิเคราะห์ทางเทคนิคเกี่ยวกับข้อค้นพบต่างๆ เพื่อปรับใช้กับวิถีชีวิตยุคใหม่ ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ Tama Art University
Comments