หากอยากลองสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบถึงแก่นแท้ ต้องมาลองเข้าร่วม ”พิธีชงชา”
เรือนชงชาหรือห้องชงชานั้นเปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อที่แสดงวัฒนธรรมแบบ “Wa” ของญี่ปุ่น พิธีชงชาของญี่ปุ่นถูกรังสรรค์ขึ้นโดยแฝงสัญลักษณ์ต่างๆที่แสดงเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นไว้มากมาย เช่น เรือนชงชาที่ทำจากไม้ไผ่ ไม้ และกระดาษแบบญี่ปุ่น จนไปถึงอาหารจานเล็กๆและศิลปะของจานที่อย่างเข้ากันอย่างดี ซึ่งเรียกว่า Kaiseki องค์ประกอบแต่ละอย่างนี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเป็นญี่ปุ่นในแบบดั้งเดิม
วัฒนธรรมการชงชาคืออะไร
ย้อนกลับไปสมัยนารา กล่าวกันว่าญี่ปุ่นเริ่มมีการนำเข้าชาจากจีนในสมัยนั้น
ในช่วงสมัยคามาคุระ วัฒนธรรมการดื่มชาเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น หลังจากพระนิกายเซนนามว่า Eisai ได้เขียนหนังสือชื่อ “Kissai Yojo-ki” บอกเล่าประโยชน์ของการดื่มชา จึงทำให้เห็นประโยชน์ของชาในฐานะที่เป็นยาอย่างหนึ่ง จากนั้นการดื่มชากลายมาเป็นวัฒนธรรมพิเศษมากยิ่งขึ้นในสมัยมุโรมะชิ ทำให้มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ในการชงชาและมีการพัฒนาสถาปัตยกรรมแบบ “Shoin” อันเป็นจุดกำเนิดของเรือนชงชาที่เราเห็นกันอย่างในปัจจุบัน “Tatemae” นั้นถือเป็นธรรมเนียมที่สำคัญในพิธีชงชา โดยมีรากฐานมากจากปรัชญาของเซน ในสมัยอะซึชิ-โมโมยะมะ ช่วงศตวรรษที่ 15 พระ Sen no Rikyuได้พัฒนาปรัชญาแห่งการชงชาจนกลายมาเป็น “wabi-cha” ที่แฝงศิลปะแห่งความเรียบง่ายในแบบญี่ปุ่น
พระ Sen no Rikyu คือใคร
พระ Rikyu ถือเป็นอาจารย์แห่งพิธีชงชาและรับใช้ Oda Nobunagaและ Toyotomi Hideyoshi ในช่วงเวลานั้นพิธีชงชาเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในหมู่เหล่านักรบ โดยพิธีนี้ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมอันบริสุทธิ์
โดยปกติแล้วอาจารย์แห่งพิธีชงชาจะต้องทำการเลือกภาชนะที่จะใช้ในพิธีอย่างเหมาะสม ด้วยความสามารถอันโดดเด่นของพระRikyu จึงทำให้ความงามในรูปแบบใหม่เกิดขึ้น
พระ Rikyuได้ทำให้ผู้คนรอบข้างประหลาดใจ ด้วยการเสนอไอเดียใหม่เกี่ยวกับพิธีชงชาที่เรียกว่า “koma” หรือความมืด นำมาซึ่งสถาปัตยกรรมเรือนชงชาขนาดเล็กมีเพดานต่ำ และใช้ถ้วยชงชาสีดำอันเป็นงานฝีมือของช่างชาวญี่ปุ่น แทนที่จะใช้ภาชนะที่นำเข้าจากจีน เพื่อสื่อให้เห็นถึงความเรียบง่ายอันเป็นหัวใจของ “wabi-cha”
wabi-sabi คืออะไร
“Wabi-sabi” มีความหมายเกี่ยวกับความเงียบ โลกที่สงบเงียบ ความสงบนิ่ง โดยรากฐานคำ“wabi” หมายถึงความทุกข์จากการไม่มีสิ่งที่ต้องการ ส่วนคำว่า“sabi” หมายถึงการเสื่อมสภาพ แม้ว่าทั้งสองคำนี้มีความหมายในเชิงลบ แต่ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนเอกลักษณ์ของความงามและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นอีกแบบหนึ่งซึ่งมีจุดกำเนิดมาตั้งแต่สมัยเอโดะ
Ichigo-ichie: หนึ่งโอกาสในหนึ่งชีวิต ความสำคัญของแต่ละประสบการณ์ที่เกิดแค่เพียงหนเดียวเท่านั้น
“Ichigo-ichie” เป็นแนวความคิดที่กำเนิดมากจาก Yamanoue Soji ลูกศิษย์ของพระ Rikyu และ Ii Naosuke ขุนนางชั้นสูงในสมัยเอโดะ ปัจจุบันยังคงใช้ปรัชญานี้เป็นสัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณในพิธีชงชา อย่างคำกล่าวในพิธีที่ว่า “พิธีชงชาครั้งนี้จัดขึ้นในวันนี้ของปีนี้ อันเป็นโอกาสที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้แค่เพียงครั้งเดียว จะไม่สามารถเกิดซ้ำเป็นครั้งที่สองได้” พิธีชงชาจะสำเร็จก็ต่อเมื่อจิตใจของทั้งผู้จัดพิธีและผู้เข้าร่วมพิธี เชื่อมโยงกัน รวมกันเป็นหนึ่งเดียว แนวคิดนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะในพิธีชงชาเท่านั้น แต่ยังถือเป็นแนวคิดสากลที่สามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตได้จริง