ตุ๊กตาฮินะ (Hina ningyou) หรือ ตุ๊กตาโกะกัทซึ (Gogatsu ningyou) ล้วนเป็นศิลปหัตถกรรมของญี่ปุ่นอันมีฝีมือที่ปราณีตและเป็นเอกลักษณ์เป็นอย่างยิ่ง ครั้งนี้เราได้มีโอกาสไปเยือนสถานที่ที่ถือว่าเป็นต้นกำเนิดแห่งตุ๊กตาซึ่งก็คือ อิวาซึกิ (Iwatsuki) อยู่ในเมืองไซตามะ มาตามไปดูกันว่าช่างฝีมือตุ๊กตาจะรังสรรค์ผลงานอย่างไร เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล Momo no sekku (เทศกาลเฉลิมฉลองของเด็กผู้หญิง)ในวันที่ 3 มีนาคม ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี


 

ตุ๊กตาฮินะที่ประดับในเทศกาล Momo no sekku

หากใครเป็นผู้หลงใหลในเทศกาลญี่ปุ่น คงต้องรู้จักเทศกาลฮินะ (Hinamatsuri) เป็นอย่างแน่ ดั้งเดิมเทศกาลนี้มีต้นกำเนิดมาจาก Gosekku อันเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นแต่โบราณ ความเชื่อเกี่ยวกับคำว่า Sekku นั้นคือ ว่ากันว่าในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล เพื่อให้คลาดแคล้วจากโรคภัย ภัยธรรมชาติต่างๆ จึงมีการไปสักการะขอพรต่อเทพเจ้าเพื่อให้ปกปักคุ้มครอง ความเชื่อนี้ดั้งเดิมเป็นความเชื่อของชาวจีนในสมัยโบราณ และได้ถ่ายทอดมาสู่ญี่ปุ่นในยุคนาระ ต่อมาในสมัยเอโดะก็มีการจัดงานเทศกาลในช่วงวันดังกล่าว

ในบรรดาวัน Go Gatsu Sekku วันที่ 7 มกราคมซึ่งเรียกว่า Jinjitsu no sekku หรืออีกชื่อคือ Nanakusa no sekku ในวันนี้จะมีธรรมเนียมการทานKusagayu หรือ ข้าวต้มผัก เป็นเคล็ดที่จะทำให้ปราศจากโรคภัยตลอดทั้งปี ส่วนวันที่ 3 มีนาคมจะเรียกว่าวัน Joushi no sekku หรืออีกชื่อคือ Momo no sekku ถือเป็นวันเฉลิมฉลองของเด็กผู้หญิง มีการประดับประดาด้วยตุ๊กตาฮินะ เพื่ออวยพรให้เด็กเจริญเติบโตและมีสุขภาพที่แข็งแรง ถัดไปคือวันที่ 5 พฤษภาคม เรียกว่าวัน Tango no sekku หรืออีกชื่อคือ Shoubu no sekku เป็นวันเฉลิมฉลองของเด็กผู้ชาย มีการประดับตุ๊กตาโกะกัทซึและธงปลาคาร์ฟ นอกจากนี้ยังมีวันที่ 7 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันTanabata no sekku และวันที่ 9 กันยายนซึ่งเป็นวัน Chouyou no sekku ด้วย

การทำตุ๊กตาของอิวาซึกิได้เริ่มมีมาตั้งแต่ต้นสมัยเอโดะ เนื่องจากในยุคนั้นโชกุน Tokugawa Iemitsu มีแผนที่จะสร้างศาลเจ้า Nikkotoshogu จึงได้รวบรวมบรรดาช่างฝีมือจากทุกที่ ซึ่งอิวาซึกิก็เป็นที่สำหรับแวะพักแห่งแรกระหว่างทางที่เชื่อมเอโดะและนิกโกที่เรียกว่า Nikko onarimichi ในสมัยนั้นในแถบอิวาซึกิเต็มไปด้วยต้นพอโลเนีย ช่างฝีมือจึงได้ใช้ไม้ต้นพอโลเนียเพื่อทำชั้นสำหรับเป็นของ ส่วนเศษขี้เลื่อยที่เหลือจะถูกนำไปใช้ทำตุ๊กตา ตุ๊กตาที่ทำจากขี้เลื่อยนี้จะมีความแข็งแรงมาก ประกอบกับการใช้ดินปั้น จึงทำให้งานฝีมือนี้มีชื่อเสียงมาก ในช่วงปลายยุคนั้นงานฝีมือตุ๊กตาของอิวาซึกิจึงได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปะชั้นเลิศ

ความพิเศษของเทคนิคการทำตุ๊กตาอิวาซึกิคือการทำแต่ละส่วนของตุ๊กตา ทั้งหัว ลำตัว เสื้อผ้า แยกกันหมด แล้วนำมาประกอบเป็นตัวในภายหลัง ชุดของตุ๊กตานั้นเลียนแบบมาจากชุดที่คนสวมใส่จริงๆ ตุ๊กตาเช่นนี้จะเรียกว่า Ishougi ningyou หรือตุ๊กตาสวมเสื้อ ตุ๊กตาแบบนี้จะแตกต่างกับ Kimekomi ningyou ซึ่งเสื้อผ้าจะถูกติดไว้กับตัวตุ๊กตาไม้เลย

มารอบนี้ที่นี่จัดงาน Machikado Hinameguri พอดี จึงมีบูธให้ร่วมกิจกรรม DIYทำพวงกุญแจด้วยศิลปะคิเมโคมิด้วย งานนี้จัดขึ้นที่บริเวณลานหน้าทางออกของสถานีIwatsuki ทางออก East exit มีให้เลือกว่าจะทำเป็นทรงกลมหรือทรงหัวใจ แล้วก็เลือกลายผ้าที่ชอบได้ เห็นคนส่วนใหญ่เลือกทรงกลมกันเยอะ เหลือแต่รูปหัวใจ เราก็เลยต้องเลือกทำรูปหัวใจกัน ว่าแล้วก็จ่ายเงินค่าอุปกรณ์ 500 เยน แล้วไปลงมือทำกัน
จริงๆแล้วไม่ได้ยากเหมือนอย่างที่คิดเลย แต่ตอนท้ายที่ติดสายพวงกุญแจก็ยากอยู่เพราะต้องใช้ฝีมือในการสอดเข้าไปตรงกลาง เจ้าหน้าที่ประจำบูธเลยจำการทำให้เสร็จ ใช้เวลาไปทั้งหมด 30 นาที นอกจากนี้ยังมีให้ลองทำ ซึรุชิฮินะ (Tsurushihina) ด้วย แต่ตารางกิจกรรมจะแตกต่างกันไปแล้วแต่วัน หากใครสนใจ ควรตรวจสอบข้อมูลก่อนไปร่วมงาน

นอกจากนี้ยังมีพาเหรดของเด็กประถมที่แต่งกายเป็นตุ๊กตาฮินะ การแสดงกลองไทโกะ ให้ชมกันด้วย นับเป็นสีสันของงานอีกอย่าง โดยเฉพาะเด็กๆที่แต่งชุดสมัยโบราณราวกับเป็นตุ๊กตาฮินะในแบบขยายใหญ่ น่ารักมากๆ ทำให้คนที่มาร่วมงานตั้งแถวเรียงรายรอถ่ายรูป ช่วงสุดสัปดาห์ของระยะเวลาที่จัดงาน บริเวณศาลเจ้าAtago Jinja ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่จัดงาน มีการประดับประดาของตุ๊กตากว่า 300 ตัว เรียกเป็นแถวถึง 27 ชั้น แถมชุดของตุ๊กตาแต่ละตัวก็ไม่เหมือนกันด้วย จนคนญี่ปุ่นที่มาเยือนยังตกตะลึง

ที่อิวาซึกินี้ นอกจากงาน Machikado Hinameguri แล้ว ในวันที่ 3 มีนาคมก็ได้มีการจัดงาน Nagashihina ด้วย ที่บริเวณสวน Iwatsukijoshi เอกลักษณ์ของเทศกาลคือมีการนำตุ๊กตาฮินะวางบนรองเท้าสาน แล้วทำไปลอยน้ำในแม่น้ำ ส่วนช่วงปลายเดือนสิงหาคมจะมีเทศกาลอิวาซึกิ ซึ่งจะประดับประดาด้วยตุ๊กตาฮินะอย่างอลังการ นอกจากนั้นยังมีงานเกี่ยวกับตุ๊กตาฮินะอีกมากมาย สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ http://www.doll.or.jp/event/index.html มาเที่ยวที่นี่แล้วอย่าลืมมาทำตุ๊กตาฝีมือตัวเองกันนะ

Comments