กล่องสตรอว์เบอร์รี่ของ Migaki-Ichigo ซึ่งทำการตลาดว่าเป็น “อัญมณีที่กินได้”
หลังจากที่เราต้องกักตัวที่บ้านมาหลายสัปดาห์ พอรู้ตัวอีกทีฉันก็ดูหนังกับรายการทีวีจนเกือบหมด แต่ก็ได้ยินมาจากเพื่อนว่า NHK World-Japan มีรายการให้ดูฟรีหลากหลายแนว แล้วก็มีถึง 18 ภาษา รวมภาษาไทยด้วย ฉันเลยลองไปเช็คในเว็บไซต์ดูทันที
เท่าที่ดูฉันชอบที่มีข้อมูลเจาะลึกเป็นพิเศษ ทั้งการนำเสนอด้านที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของวัฒนธรรมญี่ปุ่น และยังได้รู้จักด้านธุรกิจและเทคโนโลยีแนวหน้าของญี่ปุ่นด้วย

รายการแนะนำ 1#

ไดเร็กต์ ทอล์ก – สวนสตรอว์เบอร์รีไฮเทค: ฮิโรกิ อิวาซะ ประธานและซีอีโอ G

(ความยาว: 15 นาที ดูได้ถึงวันที่ 3 มี.ค. 2021)

ลูกสตรอว์เบอร์รีจากมิกาคิอิจิโกะ (Migaki-Ichigo) เหมือนกับเป็นความหมายของคำว่าผลไม้ที่ดีที่สุดจากการเก็บเกี่ยว ได้รับการคัดเลือกจากปริมาณน้ำตาลที่สูง รสเปรี้ยวกลมกล่อม และมีกลิ่นหอม ซึ่งจะมีเพียง 1 ในสตรอว์เบอร์รี 100 ลูกเท่านั้นที่จะสามารถจัดอยู่ในระดับ “แพลตตินัม” ได้
กล่องสตรอว์เบอร์รี่ของ Migaki-Ichigo ซึ่งทำการตลาดว่าเป็น “อัญมณีที่กินได้”
กล่องสตรอว์เบอร์รี่ของ Migaki-Ichigo ซึ่งทำการตลาดว่าเป็น “อัญมณีที่กินได้”
สตรอว์เบอร์รีเป็นความภูมิใจของเมืองยามาโมโตะในจังหวัดมิยางิ แต่อุตสาหกรรมถูกพังลงด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวโทโฮกุ 2011 และนั่นกระตุ้นให้ฮิโรกิ อิวาซะ ผู้ก่อตั้งมิกาคิอิจิโกะให้กลับมาจากโตเกียวเพื่อช่วยฟื้นฟูบรรเทา
สตรอว์เบอร์รีคุณภาพสูงซึ่งถูกสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยที่ใช้ภายในเรือนกระจกสตรอว์เบอร์รี
เพื่อเป็นการฟื้นฟูอุตสาหกรรม อิวาซะได้ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรมของเขา จากการพัฒนาซอฟต์แวร์มาสู่เรือนกระจกสตรอว์เบอร์รี่ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ความชื้น และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้สภาวะได้รับการตรวจสอบและมีการปรับอัตโนมัติอยู่ตลอดเวลา
อิวาซะร่วมมือกับชาวสวนสตรอว์เบอร์รีท้องถิ่นและให้การฝึกอบรมแก่ผู้อื่น
จากการสร้างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ ขณะนี้อิวาซะกำลังมุ่งเน้นไปที่มุมมองระยะยาวในการสร้างอุตสาหกรรมธุรกิจส่วนตัวที่จะสามารถไปต่อได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างงานและเสริมสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น มันช่างเป็นแรงบันดาลใจอย่างแท้จริงที่เห็นธุรกิจจากต้นเหตุทางสังคมและตอบแทนกลับสู่สังคมเช่นกัน

รายการแนะนำ 2#

สุดยอดนวัตกรรมของญี่ปุ่น อิโมจิ

(ความยาว: 15 นาที ดูได้ถึงวันที่ 13 ก.พ. 2021)

ฉันใช้อิโมจิเพื่อแสดงตัวตนของฉันโดยธรรมชาติเช่นเดียวกับการใช้คำพูด และฉันมั่นใจว่ามันกลายเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในการสื่อสารประจำวันของเราไปแล้ว แต่คุณรู้หรือไม่ว่าอิโมจินั้นเริ่มต้นมาจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
โทรศัพท์มือถือจอ LCD รุ่นเก่าที่น้อยคนจะรู้จักในวันนี้
ด้วยไอเดียของชิเงตากะ คุริตะ คำว่า “emoji (เอะโมจิ)” เป็นคำประสมด้วยศัพท์ภาษาญี่ปุ่นของคำว่าภาพและตัวอักษร ในเวลานั้นอิโมจิจะต้องเรียบง่าย เนื่องจากพวกมันถูกจำกัดด้วยพื้นที่ 48 ตัวอักษรที่มีบนหน้าจอโทรศัพท์ขนาดเล็ก
อิโมจิแบบแรกเริ่มที่จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ The Museum of Modern Art ในนิวยอร์ค
จากการวาดด้วยแรงบันดาลใจจากความรู้สึก สถานีรถไฟ และมังงะ (หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น) คุริตะออกแบบอิโมจิ 176 ตัวซึ่งได้รับการเพิ่มโดย NTT Docomo ลงในโทรศัพท์มือถือที่ออกในปี 1999 และได้เปลี่ยนวิธีที่พวกเราสื่อสารกันไปตลอดกาล
คุริตะผู้ที่ยังคงมีวีดีโอของอิโมจิแบบแรกเริ่มอยู่ วาดรูปอิโมจิที่เขาโปรดปรานให้เราดู
ในปี 2010 ทั่วทั้งโลกก็ตามมาและอิโมจิได้กลายเป็นฟีเจอร์ของโทรศัพท์มือถือทั้งหมด ด้วยการพัฒนาล่าสุดทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวอิโมจิ ไปจนถึงสามารถปรับแต่งมันเพื่อให้เหมือนกับรูปลักษณ์ของเราเอง เราทุกคนต้องขอบคุณคุริตะ!
qiu-profile-pic_c

นักรีวิว

Yonghui

นักท่องเที่ยวที่ไม่รู้จักเหนื่อย และนักชิมอาหารไฟแรง รักในประสบการณ์ใหม่ๆ และการสำรวจออกนอกเส้นทาง

เกี่ยวกับ NHK WORLD-JAPAN

NHK WORLD-JAPAN เป็นบริการนานาชาติของ NHK ผู้แพร่ภาพกระจายเสียงสาธารณะของญี่ปุ่น
รับข่าวสารและข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับญี่ปุ่นผ่านช่องทาง โทรทัศน์ ฟรีแอปพลิเคชัน หรือ เว็บไซต์ ของเรา
Comments